วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557

บทที่1


(1) การเขียนบทโทรทัศน์
       อรนุช   เลิศจรรยารักษ์ (2544หน้า 299-300)  กล่าวถึงหลักการเขียนบทวิทยุโทรทัศน์ ไว้ดังนี้
หลักการเขียนบทวิทยุโทรทัศน์
       โทรทัศน์เป็นสื่อที่ให้ทั้งภาพและเสียง ดังนั้น การเขียนสำหรับรายการโทรทัศน์จึงต้องเขียนให้ทั้งดูและฟังไม่เขียน ในรูปสำหรับให้อ่าน ฉะนั้น การเขียนสำหรับโทรทัศน์จึงควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
 
   1. เขียนโดยใช้สำนวนสนทนาที่ใช้สำหรับการพูดคุย มิใช่เขียนในแบบของหนังสือวิชาการ (text BOOK)     
จึงเขียนสำหรับให้ทั้งดูและฟัง ไม่เขียนในรูปแบบซึ่งเร้าใจให้อ่าน
 

     2. เขียนโดยเน้นภาพให้มาก ดังคำขงจื้อที่ว่า คิดให้กระจ่างชัดดังเป็นภาพ    รายการโทรทัศน์จะไม่บรรจุคำพูดไว้ทุก ๆ วินาที แบบรายการวิทยุ

    3. เขียนอธิบายแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่กำลังพูดถึง ไม่เขียนและบรรยายโดยปราศจากภาพประกอบ

    4. เขียนเพื่อเป็นแนวทางให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ชมแต่ละกลุ่ม ผู้ซึ่งเป็นเป้าหมายในรายการของท่าน มิใช่เขียนสำหรับผู้ชมโทรทัศน์ส่วนใหญ่
 

    5. พยายามใช้ถ้อยคำสำนวนที่เข้าใจกันในยุคนั้น ไม่ใช้คำที่มีหลายพยางค์ ถ้ามีคำเหมือน ๆ กันให้เลือก จงเลือกใช้คำที่เข้าใจได้ง่ายกว่า

    6. เขียนเรื่องที่น่าสนใจและต้องการเขียนจริง ๆ ไม่พยายามเขียนเรื่องซึ่งน่าเบื่อหน่าย
เพราะความน่าเบื่อจะปรากฏบนจอโทรทัศน์

    7. เขียนโดยพัฒนารูปแบบการเขียนของตนเอง ไม่ลอกเลียนแบบการเขียนของคนอื่น

    8. ค้นคว้าวัตถุดิบต่าง ๆ เพื่อจะมาใช้สนับสนุนเนื้อหาในบทอย่างถูกต้องไม่เดาเอาเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีข้อเท็จจริงเข้าไปเกี่ยวข้อง
 

    9. เขียนบทเริ่มต้น (opening) ให้น่าสนใจและกระตุ้นให้ผู้ชมอยากชมต่อไป

    10. เขียนโดยเลือกใช้อารมณ์แสดงออกในปัจจุบัน (now experession) ไม่เป็นคนล้าสมัย

    11. ไม่เขียนเพื่อรวมจุดสนใจทั้งหมดไว้ในฉากเล็ก ๆ ในห้องที่มีแสงไฟสลัว ผู้ชมต้องการมากกว่านั้น

    12. ใช้เทคนิคประกอบพอควร ไม่ใช้เทคนิคประกอบมากเกินไปจน เป็นสาเหตุให้สูญเสียภาพที่เป็นส่วน สำคัญที่ต้องการ ให้ผู้ชมได้เข้าใจได้เห็น
 

    13. จงให้ความเชื่อถือผู้กำกับรายการว่าสามารถแปลและสร้างสรรค์ภาพ ได้ตามคำอธิบาย และคำแนะนำของผู้เขียน ผู้กำกับจะตัดทอนบท ให้เข้ากับเวลาที่ออกอากาศ และไม่ต้องแปลกใจ
ถ้าบรรทัดแรก ๆ ของบทถูกตัดออก หรืออาจผิดไปจากช่วงต้น ๆ ที่เขียนไว้ ต้องให้ความเชื่อถือ
ผู้กำกับรายการและไม่พยายามจะเป็นผู้กำกับรายการเสียเอง

    14. ไม่ลืมว่าผู้กำกับจะแปลความเร้าใจของผู้เขียนบทออกมาได้จากคำอธิบาย และคำแนะนำที่ผู้เขียนเขียนเอาไว้ในบท

    15. ผู้เขียนบทต้องแจ้งให้ทราบถึงอุปกรณ์ที่ต้องใช้เป็นพิเศษ ซึ่งจำเป็นและอาจหาได้ยาก เวลาเขียนควรคำนึงด้วยว่า  อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบนั้นเป็นอุปกรณ์ซึ่งไม่สิ้นเปลือง  ค่าใช้จ่าย
มากเกินไป และอุปกรณ์นั้นต้องหาได้

การใช้ภาษาในการเขียนบทวิทยุโทรทัศน์
      
ภิญโญ  ช่างสาน (2539หน้า 389) กล่าวถึงการใช้ภาษาในการเขียนบทวิทยุโทรทัศน์ ไว้ดังนี้การใช้ภาษาในการเขียนบทวิทยุโทรทัศน์โดยทั่วไปมีลักษณะคล้ายกับการใช้ภาษา ในการเขียน บทวิทยุกระจายเสียงต่างกันที่การใช้ภาษาในการเขียนบทวิทยุกระจายเสียง เป็นการใช้ภาษา เพื่อการฟังเพียงอย่างเดียว แต่การใช้ภาษาในการเขียนบทวิทยุโทรทัศน์ เป็นการใช้ภาษาเพื่อ การดูและการฟัง ประกอบกันทั้งนี้เพราะวิทยุโทรทัศน์เป็นสื่อทสามารถสื่อสารด้วยวัจนภาษาได้แก่ คำพูด คำอ่าน คำบรรยาย และอวัจนภาษา ได้แก่ ภาพ การเคลื่อนไหว แสง สี  เสียงดนตรี เสียงประกอบ และความเงียบ ได้อย่างชัดเจน ฉะนั้นการใช้ภาษาในการเขียนบทวิทยุโทรทัศน์ จึงควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
  
 1. ใช้ภาษาสำนวนสนทนาที่ง่าย กระชับ ชัดเจน สื่อได้ทั้งเสียงและภาพประกอบกัน
      อย่างกลมกลืน

  2. ใช้ถ้อยคำภาษาให้สอดคล้องกับรูปแบบรายการ และเหมาะสมกับผู้ชมกลุ่มเป้าหมาย

  3. ใช้ภาษาที่สุภาพ ไม่ใช้ถ้อยคำที่ส่อไปในทางหยาบคายหรือลามกอนาจาร

  4. ใช้ภาษาที่สร้างสรรค์ ไม่ใช้ถ้อยคำยั่วยุ บิดเบือน หรือเสียดสีผู้อื่น จนก่อให้เกิดความ
      สับสน หรือเกิดความแตกแยกขึ้นในสังคม

  5. ใช้ภาษาที่แสดงความใกล้ชิด และเป็นกันเองกับผู้ชมรายการทั้งผู้ชมในห้องส่ง
      และผู้ชมทางบ้าน

  6. ใช้คำที่ออกเสียงได้ง่าย หลีกเลี่ยงการใช้คำที่ออกเสียงยากหรือพูดลิ้นพันกัน
       ถ้าจำเป็น ต้องใช้คำที่อ่านยากควรเขียนคำอ่านไว้ในวงเล็บด้วย

  7. ใช้ศัพท์เทคนิคในการถ่ายภาพได้ถูกต้อง เพื่อจะได้ระบุลงไปให้แน่ชัดว่าในแต่ละชอต
      (shot)  ในแต่ละฉาก (scene)ควรจะสื่อด้วยภาพอย่างไรจึงจะสอดคล้องกับเนื้อหาสาระ
      และน่าสนใจยิ่งขึ้น


คิว
ภาพ
เสียง
เวลา
1
Title เปิดรายการ
เพลง Title รายการ
  2. นาที
2
Location : เส้นทางการเดินทางไปอยุทธยา

คลอไปด้วยดนตรีเพลงเบาๆๆๆ ดพื่อสร้างอารมณ์ในการท่องเที่ยว

3
Location: หน้าวัดใหญ่ชัยมงคล
สวัสดีครับ/ค่ะ
ทีม: สวัสดีครับมาพบกับพวกเราอีกครั้งกับรายการเทรเวลเช็คอินวันนี้เราพาคุณผู้ชมมาเช็คอินกันที่
พิธีกรหญิง : วัดใหญ่ชัยมงคลจ.พระนครศรีอยุทธยา
เอม: วันนี้เราพาทุกท่านมาไหว้พระกันค่ะ
อิม:ข้างในจะเป็นอย่างไรนั้นตามไปชมกันเลย
4
Ins: พิธีกรเดินเข้าภายในวัด
เพลงบรรเลง
5
Location: หน้าวิหารหลวง
คิวพิธีกร
ทีม: ตอนนี้เราก็มาอยู่กันหน้าวิหารหลวงแล้วนะครับ
เอม: :ซึ้งวิหารแห่งนี้ก็มีอายุยาวนานหลายร้อยปีเดี๋ยวเราไปไหว้สักการะบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคลกันดีกว่าค่ะ
6
Ins: พิธีกรไหว้พระและบรรยากาศรอบๆวิหาร
เพลงบรรเลง
7
Location: หน้าพระวิหาร
คิวพิธีกร
เอม: ต้อนนี้เราก็ไหว้พระกันเสร็จแล้วนะค่ะแต่เอะเพื่อนเราหายไหนสองคนนะดาด้า
ดาด้า:ไช่ๆเดี๋ยวไปตามหาอิมกับทีมก่อนนะค่ะ
8
Ins: บรรยากาศรอบๆวัดและพระปรางค์
เพลงบรรเลง
9
Location: หน้าร้านขายโรตีสายไหม
คิวพิธีกร
ทีม: แล้วตอนนี้เราก็พาคุณผู้ชมมาอยู่กันที่ร้านโรตีสายไหมของฝากเมืองอยุทธยา
เอม: ไช่แล้วค่ะไครมาที่นี้เป็นต้องซื้อและห่อกลับบ้านไปเดี๋ยวเราไปดูการทำโรตีสายไหมกันเลย
10
Montage: ถ่ายพิธีกรลงไปดูวิธีการทำโรตีสายไหม
เพลงบรรเลง
11
Location: หน้าร้านขายโรตี
คิวพิธีกร
พิธีกรทั้ง4บอกลารายการ
12
the end
เพลงบรรเลง
10นาที

 2)การประดิษฐ์ตัวอักษรด้วยปากกาสปีดบอล

การเขียนด้วยปากกาสปีดบอลเป็นการประดิษฐ์ตัวอักษรอีกวิธีหนึ่งที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสื่อการเรียนการสอนได้ ไม่ว่าจะเป็นการเขียนบัตรคำ แถบประโยค เขียนประกอบแผนภาพ ฯลฯ ซึ่งการเขียนด้วยปากกาสปีดบอลลอาจจะมีความยุ่งยากในส่วนของการเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน และถ้าใช้กระดาษเขียนที่ไม่ดีก็จะทำให้น้ำหมึกซึมหรือเลอะกระดาษได้ แต่ในปัจจุบันได้หันมานิยมใช้ปากกาหัวตัดซึ่งจะมีขนาดต่าง ๆ ให้เลือกที่จะใช้ในการเขียน จะทำให้มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น การเตรียมอุปกรณ์ ก็ง่ายและสามารถนำมาใช้งานได้ทันที ซึ่งวิธีการเขียนตัวอักษรแบบหัวตัดก็ไม่ได้ยุ่งยาก ซ้ำยังมีวิธีการเขียนที่อาจจะพูดได้ว่าเหมือนกับการเขียนด้วยปากกาสปีดบอลเลยก็ว่าได้ก่อนอื่นนักศึกษาต้องฝึกเขียนรูปแบบต่าง ๆ ให้คล่องก่อนจนเกิดความชำนาญ โดยที่ปลายของทุกเส้นทั้งเมื่อเริ่มต้นและสิ้นสุดควรทำมุม 45 องศา และควรยึดหลักการลากเส้นจาก ซ้ายไปขวา หรือ บนมาล่าง


















อย่าง การเขียนบทโทรทัศน์   
เรื่อง  100ปี ปักธงชัย จากอดีตสู่.....ปัจจุบัน


ลำดับ
เวลา
ภาพ
ลักษณะภาพ
คำบรรยาย
ภาพ
ดนตรี / เสียงประกอบ
1
10วินาที
ภาพของดีปักธงชัยตามคำขวัญอำเภอปักธงชัย
LS
CU
100ปี       ปักธงชัย จากอดีตสู่.....ปัจจุบัน
ไตเติ้ล
2
1.35
นาที
ภาพแหล่งโบราณคดีของอำเภอปักธงชัย
LS
MS
CU
ประวัติอำเภอ     ปักธงชัย
ผู้บรรยาย อำเภอปักธงชัยเดิมเป็นเมืองเก่ามานาน ตามแผนที่ยุทธศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยาปรากฏว่ามีชื่อเมืองปัก ตั้งอยู่ใกล้กับเมืองโคราช บริเวณนี้เคยเป็นที่อยู่ของพวกขอม มอญ และละว้า ได้สร้างโบราณสถานไว้มากมาย เช่น ปรางค์บึงคำ ปรางค์จำปาทอง ปรางค์หนองหอยแสดงว่า เมืองปักสมัยนั้นมีความเจริญรุ่งเรือง และอยู่ในความปกครองของเมืองโคราช มีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นตรี








ลำดับ
เวลา
ภาพ
ลักษณะภาพ
คำบรรยาย
ภาพ
ดนตรี / เสียงประกอบ
3
2
นาที
ภาพสมัยกรุงธนบุรี
LS
MS
CU
สมัยกรุงธนบุรี
ผู้บรรยาย พ.ศ. 2321 เจ้านครเวียงจันทน์ได้ยกกำลังเข้ามารุกล้ำ เขตแดนราชอาณาจักรไทย เจ้าพระยานครราชสีมาเป็นกองหน้ารุกเข้าตีกองทัพเพี้ยอุปราชาแห่งนครเวียงจันทน์จนมีชัยชนะ จึงได้กวาดต้อนเชลยโดยเฉพาะเพี้ยอุปราชาและครอบครัวได้ให้ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ด่านกะโปะ
4
3
นาที
 ภาพสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
LS
MS
CU
สมัยกรุงรัตน
โกสินทร์
ผู้บรรยาย ขุนแพ่งแห่งเมืองปักธงไชยซึ่งถูกกวาดต้อนมาจากเวียงจันทน์ ได้รับแต่งตั้งเป็นหลวงเพชรสงคราม รวมสมัครพรรคพวกในนครราชสีมา ในปี พ.ศ. 2369 พระยาไกรสงคราม เป็นเจ้าเมืองขุขันธ์ กับน้องชายเกิดวิวาทและรบพุ่งกัน จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยานครราชสีมายกทัพไปเมืองขุขันธ์ สามารถเข้ายึดเวียงจันทน์ได้ เจ้าพระยานครราชสีมาจึงพาครอบครัวชาวปักธงไชยที่ถูกคุมขังไว้ คืนมาไว้ที่เมืองปักธงไชยตามเดิม


ลำดับ
เวลา
ภาพ
ลักษณะภาพ
คำบรรยาย
ภาพ
ดนตรี / เสียงประกอบ
5
1
นาที
ภาพสภาพทางภูมิศาสตร์ของอำเภอปักธงชัย

MS
CU
ที่ตั้งของอำเภอ        ปักธงชัย
ผู้บรรยาย ปักธงชัยเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดนครราชสีมา ห่างจากศาลากลางจังหวัดนครราชสีมาประมาณ 35 กิโลเมตร ที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ
ปักธงชัยอยู่ติดกับถนนสืบศิริ
6
30
วินาที
การลักษณะภูมิประเทศ
MS
CU
ลักษณะ     ภูมิประเทศ
ผู้บรรยาย อำเภอปักธงชัยมีพื้นที่ทั้งหมด  2,461  ตารางกิโลเมตร เป็นที่ทำการเกษตรประมาณ 890.929 ไร่ ที่ป่าประมาณ 1,538.80 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ตอนกลางเป็นที่นาที่สวนรอบ ๆ นอกโดยเฉพาะทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นป่าและภูเขา ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย พื้นที่ลาดเอียงจากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก







ลำดับ
เวลา
ภาพ
ลักษณะภาพ
คำบรรยาย
ภาพ
ดนตรี / เสียงประกอบ
7
30
 วินาที
ภาพพิธีกรหญิงและวิทยากร
MS
CU
คำขวัญอำเภอปักธงชัย :ภูมิปัญญาท้องถิ่น
พิธีกร  จากที่รู้กันว่าอำเภอ   ปักธงชัยมีประวัติที่ยาวนานก็จะต้องมีของดีที่มากมายอะไรบ้างค่ะ
วิทยากร  :  “ ลำพระเพลิงน้ำใส ผ้าไหมเนื้องาม ข้าวหลาม      นกออก ถั่วงอกวังหมี หมี่ตะคุ ครับ และในวันนี้ผมจะพาไปชมวิธีการทำผ้าไหม เชิญครับ
8
5
นาที
ภาพวิทยากรและขั้นตอนการทำผ้าไหม
MU
CU
ECU
ขั้นตอนการทำผ้าไหม
ดนตรีบรรเลง.......
วิทยากร  สาธิตและอธิบายขั้นตอนการทำผ้าไหม
9
30
วินาที
ภาพพิธีกรหญิงและวิทยากร
LS
MU
CU

อุตสาหกรรมไหมไทย
พิธีกรหญิง : “ในปัจจุบันอุตสาหกรรมผ้าไหมเป็นอย่างไรบ้างค่ะ
วิทยากร :……………………...
10
30
วินาที
ภาพพิธีกรหญิงและวิทยากร
LS
MU
CU

แนวโน้มของอุตสาหกรรมไหมไทย
พิธีกรหญิง : “อยากให้วิทยากรช่วยรณรงค์ใช้ผ้าไหมเพื่อให้เศรษฐกิจไทยดีขึ้นค่ะ
วิทยากร :……………………...
11
5
วินาที


ตัวอักษร ขอขอบคุณ...

12
5
วินาที


ที่ปรึกษา
..............

13
5
วินาที


ทีมงาน
………..

ที่มา : krupaul.files.wordpress.com/2011/11/script15mintute.do

LS
CU
MU
ECU
MS
Fade in
Color Bar
E.C.U.
Zoom in
Zoom out
Pan
Dolly
Cut
Wipe
Sound Effect

ขอบคุณ

ที่มา : 

ที่มา : http://openupmedia.blogspot.com/2010/09/blog-post_15.html